คุณเครียดไปไหมและโรคร้ายจากความเครียด

มาเช็คกันว่าคุณมีอาการเหล่านี้ไหม ถ้ามีเกิน 5 ข้อแปลว่าคุณกำลังเป็นโรคเครียด อย่ารอจนเป็นโรคเครียดคะ

คุณเครียดเกินไปหรือเปล่า คุณมีอาการแบบนี้บ้างไหม
1 ปวดหัว ปวดขมับ และขากรรไกร
2 ปวดคอปวดหลัง
3 กล้ามเนื้อกระตุก
4 อาการเจ็บหน้าอก
5 ความเมื่อยล้า
6 ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
7 ท้องไส้ปั่นป่วน
8 ปัญหาการนอนหลับ
9 อ่อนแอ, เวียนหัว เสียศุนย์ คล้ายจะเป็นลม
10 มือเย็นหรือเหงื่อออกที่เท้า
11 เป็นผื่นคัน ,ลมพิษ,ขนลุก
12 ป่วยบ่อย
13หายใจลำบาก ถอนหายใจบ่อย
14 ความวิตกกังวล รู้สึกผิดไปหมดทุกเรื่อง
15 ซึมเศร้าบ่อยหรืออารมณ์แปรปรวน

คุณเครียดเกินไปหรือเปล่า คุณมีอาการแบบนี้บ้างไหม
16 ไม่อยากอาหาร หรือทานอาหารมากเกินไป
17 เหงาหรือเศร้าแบบไม่มีสาเหตุ
18 มีความรู้สึกมากไปหรือไร้ความรู้สึกรำคาญกับเรื่องเล็กๆ
19 นอนไม่หลับ นอนยาก มีฝันร้ายฝันรบกวน
20 โกรธง่าย โกรธแรง วู่วามโกรธง่าย
21 ติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
22 ตีตัวออกห่างจากสังคม
23 แทบจะไม่ออกกำลังกาย
24 ขาดแรงจูงใจหรือโฟกัส
25 รู้สึกสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก

ถ้าคุณมีอาการเกิน 5 ข้อ อย่ารอจนกลายเป็นโรคเครียด ต้องอ่าน “กลยุทธ์จัดการกับความเครียด

13 โรคร้ายจาก ความเครียด

13 โรคร้ายจาก ความเครียด โดยโรคทางกายมีตัวอย่างโรคดังนี้

1. โรคหัวใจขาดเลือด – ความเครียดมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจคือ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ซิมพาเทติก ทำให้โรคหัวใจขาดเลือดทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง

2. ความดันโลหิตสูง – มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีความวิตกกังวลอยู่เป็นประจำมีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะความเครียดจากงานซึ่งมีผลมาจากความทะเยอทะยานสูงโดยขาดการยับยั้งใจ จะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายโต

3. โรคเบาหวาน – ในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล เพราะฮอร์โมนซึ่งเกิดเนื่องจากความเครียดจะผลต่อการความเครียด,เครียด,โรค,นอนไม่หลับ,หายเครียด,แก้เครียดตอบสนองของอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้

4. โรคหอบหืด – ความวิตกกังวลจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการหอบหืดทรุดหนักไปอีก เนื่องจากผู้ป่วยมีประสบการณ์หายใจไม่ออกรุนแรงซ้ำๆ เมื่อเกิดความเครียดวิตกกังวลว่าจะหายใจไม่ออกจึงเป็นการกระตุ้นอาการโรคขึ้นมาอีก

5. ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ – ความเครียดฉับพลันมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ก่อนแล้วมีโอกาสหัวใจวายสูงขึ้น

6. ข้ออักเสบรูมาทอยด์ – พบว่าบุคลิกภาพของผู้ป่วยโรคนี้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับความเครียดอยู่มากทีเดียว เช่น การเก็บกด ชอบความสมบูรณ์แบบ ชอบความโดดเดี่ยว ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ชอบความเจ็บปวดและมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดมีแนวโน้มกระตุ้นให้เกิดโรค

7. โรคแผลในกระเพาะอาหาร – ปัจจัยทางจิตใจมีผลทำให้สารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารออกมามาก นอกจากนี้วิถีชีวิตที่เครียดจะทำให้เกิดความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิดความอ่อนแอต่อการได้รับเชื้อ H. pyroli ซึ่งเป็นเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้ความเครียด,เครียด,โรค,นอนไม่หลับ,หายเครียด,แก้เครียด

8.โรคผิวหนัง – โรคผิวหนังบางชนิดพบว่ามีความผิดปกติของระบบประสาทด้วย ดังนั้นหากเกิดความเครียดยิ่งจะทำให้อาการโรคผิวหนังกำเริบขึ้นอีก เช่น อาการลมพิษที่อาจเกิดขึ้นตามหลังการเกิดความเครียดฉับพลัน

9. ภูมิแพ้ – ความเครียดจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันโดยผ่านฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ในขณะเดียวกันความเครียดยังไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ แต่มีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันพร่องไป และอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

10. มะเร็ง – มีการศึกษาหนึ่งพบว่า หนูที่มีสารก่อมะเร็งเมื่อถูกกดดันให้เครียด จะมีอัตราการลุกลามของมะเร็งเร็วกว่าหนูที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เครียด จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญในการลุกลามของโรค นอกจากนี้นักวิจัยชาวอเมริกาจากศูนย์มะเร็งพิตเบิร์กพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับกำลังจากครอบครัว เซลล์มะเร็งจะมีปัญหามากขึ้นกว่าผู้ป่วยในโรคเดียวกัน

11. ไมเกรน – ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป การขาดซีโรโทนินจะทำให้หลอดเลือดเกิดพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

12. อาการปวดกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ – ความเครียดเรื้อรังจะส่งผลให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดการตึงตัว และทำให้มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมไปถึงกระตุ้นวงจรการนอนหลับให้ผิดปกติ

13. อาการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ – ความเครียดส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง มีการปวดประจำเดือน และมีโอกาสเป็นหมัน และพบว่าผู้ที่เครียดบ่อยๆพบการแท้งขณะตั้งครรภ์ได้บ่อย

โรคจิตเวชที่เป็นผลมาจากความเครียดคือ อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล พบว่าผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังและไม่สามารถผ่อนนคลายจะมีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้สูงกว่าคนทั่วไปทำให้คุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงหน้าที่การงานแย่ลง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างดี พบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง โดยมีข้อมูลว่า ร้อยละ 45 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายเป็นโรคซึมเศร้า

นอกจากนี้พบว่าผู้ที่เครียดจะมีพฤติกรรมติดสารเสพติด เช่น บุหรี่ เหล้า และสารเสพติดอื่นๆ

เครดิต :
หัวข้อ “คุณเครียดหรือเปล่า” ค้นและแปลโดยกมลชนก ปานใจ  ส่วน
หัวข้อ “13 โรคร้ายจาก ความเครียด” จากนิตยสารชีวจิต

Share this Post