ที่ผ่านมามีบทเรียนว่าเราควรอุทิศเวลาประมาณหนึ่งในสามของชีวิตเพื่อการนอน ปรากฏว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างน่าประหลาด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของฉันรู้ว่าการนอนหลับจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ หลับตื้น หลับลึก และ REM ทว่ามีเพียงไม่กี่คนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับลึกนี้ซึ่งสมองของเราจะผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และสังเคราะห์โปรตีน.. ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและแข็งแรง และนี่คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนอนหลับลึก
การนอนหลับเป็นตายทันทีหลังจากที่หลับตาไม่ใช่เรื่องง่าย
ตามทฤษฎีจะเริ่มจากการนอนหลับตื้น หลับลึก และกลับมาหลับตื้นระหว่างที่เข้าสู่วงจร REM จากนั้นก็จะผ่าน 3 ระยะนี้ไปอีกประมาณ 4-6 รอบก่อนที่คุณจะตื่นขึ้นมา สรุปคุณควรใช้เวลาหลับลึกประมาณหนึ่งในสี่ของคืนและอีกหนึ่งในสี่ในวงจร REM
คุณจะไม่ฝันเมื่ออยู่ในช่วงนอนหลับลึก
แต่ความฝันมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วง REM ซึ่งมักจะก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออัมพาตเกือบทั้งหมดขณะที่สมองกำลังเล่าเรื่องราวของมัน วงจร REM จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการนอนหลับและถูกรบกวนได้อย่างง่ายดาย ส่วนการนอนหลับลึกส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงครึ่งแรกและรู้สึกตัวยากแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางฝนฟ้าคะนอง
การนอนหลับลึกไม่ใช่การตามใจตัวเอง
คุณอาจอยู่รอดได้ในการนอนหลับแค่ 2 ระยะ แต่การนอนหลับลึกจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายในวันถัดไป แต่ถ้าคุณรู้สึกสมองตื้อก็เป็นไปได้ว่าคุณนอนหลับไม่เพียงพอ (หนึ่งในตัวการที่สำคัญคือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คุณควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะถ้าคุณนอนกรนเสียงดังด้วย)
สปาบำบัดไม่สามารถชดเชยได้หากคุณนอนหลับลึกไม่เพียงพอ
การนอนหลับในช่วงสองชั่วโมงแรกคือช่วงที่เราหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตมากที่สุด (แต่จริงๆเราต้องการมากถึง 7-8 ชั่วโมง)
ยานอนหลับไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา
ยานอนหลับอาจทำให้คุณง่วงนอนและไม่ได้ช่วยเพิ่มระยะการนอนหลับลึก ขณะที่ยาบางชนิดอย่างแวเลี่ยมก็สามารถส่งผลเสียต่อวงจรการนอนหลับทั้งหมดนี้ได้ คุณควรเลือกวิธีที่ดีและเหมาะสม เช่น การเปลี่ยนห้องนอนให้มืดสนิทและหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงการฝึกสมาธิและการแช่น้ำร้อนก่อนเข้านอน เป็นต้น
- Blogger : W. Chris Winter, MD O, The Oprah Magazine
- Source : huffingtonpost.com
- Picture : cdn.skim.gs
- แปลโดย : issue247.com
Share this Post