การจัดการกับความโกรธ: 10 เคล็ดลับที่จะทำให้อารมณ์ของคุณเบาลง
การรักษาอารมณ์ของคุณเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เมื่อใครบางคนทำให้คุณควันออกหู ความโกรธเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นได้ แต่คุณต้องจัดการกับมันในทางบวก เพราะถ้าคุณไม่ควบคุมความโกรธมันมีโทษทั้งสุขภาพ บุคคลิกภาพและความสัมพันธ์ของคุณ
มาอ่านประงับความโกรธกันค่ะ
1. คิดก่อนที่จะพูด
ในช่วงเวลาของความร้อน จะทำให้เราพูดสิ่งแย่-ได้ง่ายมากๆ และมันจะทำให้คุณจะต้องเสียใจในภายหลัง ใช้เวลาสักครู่ในการเก็บรวบรวมความคิดของคุณก่อนที่จะพูดอะไร นับหนึ่งถึงยี่สิบเป็นวิธีที่ทำให้คุณแสดงอารมณ์ช้าลง คิดก่อน คนที่เขาทำให้เขาหงุดหงิด เขาอาจเรื่องแย่ในชีวิตเขา หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ถ้าเราเจอเหตการณ์เดียวเราก้อาจจะทำเช่นกัน
2. สงบ เมื่อคุณแสดงความโกรธของคุณ
เมื่อคุณคิดอย่างชัดเจนแล้ว ก็จงแสดงความไม่พอใจของคุณแต่ในวิธีที่เหมาะสม ระวังให้ได้ว่าสิ่งที่เราแสดงออกไป มันทำร้ายความน่าเชื่อถือ บุคคลิกหรือ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือคนที่เราโกรธแน่นอน ดังนั้น ใจเย็น พูดให้ช้า ชัด มีเหตุผล และจำไว้จงโกรธด้วยใจปรานีเสมอ เพราะไม่มีอะไรในโลกนี้แก้ไขไม่ได้ ระบุความกังวลและความต้องการของคุณได้อย่างชัดเจนและตรงปะเด็น แต่จำไว้ ต้องไม่ทำร้ายคนอื่น ๆ หรือควบคุมพวกเขา
3 ออกกำลังกายซะบ้าง
การออกกำลังกายช่วยลดความเครียด กับทุกสถานการณ์ที่เกิดกับคุณในชีวิต ถ้าคุณรู้สึกว่าความโกรธของคุณกำลังทวีความรุนแรงเกินไป จงออกเดินเร็วหรือวิ่งหรือใช้เวลาในการทำกิจกรรมทางกายภาพอื่น ๆ ที่สนุกสนานเสียบ้าง
4 พักซะบ้าง
ให้เวลาตัวเองช่วงสั้น ๆ ในสักช่วงเวลาของวัน พักสักครู่ เวลาที่เงียบสงบอาจจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น เตรียมพร้อมที่จะจัดการกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าโดยไม่ได้โกรธหรือหงุดหงิดใส่ใคร
5. แก้ปัญหาซะ
ดิฉันมักบอกเสมอว่า คนที่โกรธหรือใส่อารมณ์กับคนอื่น แปลว่าชีวิตตัวเองแย่มากๆ ไม่พอใในชีวิตตัวเองอย่างแรง ดังนั้นถ้าคุณรู้สึกขวางหูขวงตาเสมอคุณควรพูดคุยกับตัวเองอย่างตรงไปตรงมาว่า ไม่พอใจตัวเองตรงไหน แทนที่จะเป็นหมาบ้าน้ำลายฟูมปากกัดคนไม่ปล่อย
6. เลิกคิดว่าตัวเองคือศูนย์กลางของโลกใบนี้
เลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์หรือลงโทษ อย่าทำตัวน่าสมเพจโดยสำคัญตัวเองผิดว่าโลกหมุนรอบตัวคุณ เลิกดูถูก เหยียดหยัน และยกตนข่มคนอื่น นั่นแปลว่าจริงๆแล้วคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอต่างากเลยพยายามดึงคนอื่นลงมาให้ต่ำอย่างที่คุณเป็น เลิกนะ แล้วคุณจะน่าคบขึ้น
7 เวลาที่คุณโกรธ ระวังการใช้คำให้ดี
พยายามใช้คำว่า “ฉัน” เพื่ออธิบายปัญหา จะต้องเคารพคนที่คุณโกรธเสมอ และอย่าลืมเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่นสมมติว่า “ฉันเสียใจที่คุณไม่ได้ช่วยล้างจาน” แทน “คุณไม่เคยทำงานบ้านใด ๆ” หรือ ฉันเป็นห่วงกลัวคุณจะเกิดอุบัติเหต แทน คุณกลับดึกตลอด
8. ให้อภัย
การให้อภัยเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จงให้อภัยผู้อื่นให้บ่อย ไม่ใช่เพราะพวกเขาสมควรได้รับ แต่เพราะคุรสมควรเป็นอิสระจากอารมณ์ลบๆ
9. ฝึกทักษะการผ่อนคลาย นั่งสมาธิ โยคะ
ฝึกการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการหายใจ จินตนาการว่าตนกำลังผ่อนคลาย หรือพูดกับตัวเอง “ทำใจให้สบายนะ” นอกจากนี้การฟังเพลงเบาๆ ไม่มีคำร้องใดๆ หรือทำโยคะแค่ไม่กี่ poses จะกระตุ้นให้เกิดการผ่อนคลาย
10. หลีกเลี่ยง
“การหลีกเลี่ยง” กับ “การหลีกหนี” แตกต่างกัน การหลีกเลี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณขลาดกลัว แต่ตรงกันข้าม วิธีนี้กลับเป็นสิ่งที่แสดงวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ของคุณต่างหาก คุณอาจจะออกมาเดินเล่น ผ่อนคลาย ประนีประนอม หรือไม่ก็พับงานกิจกรรมนั้นไว้ว่ากันวันหลังที่อารมณ์ดีขึ้นแล้ว ต้องจำให้ขึ้นใจว่า ไม่ใช่การหลีกหนีโดยไม่รับผิดชอบ หรือก่อความเสียหายไว้ให้คนอื่นต้องตามแก้ทีหลัง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ดิฉันเชื่อว่าบทความนี้จะช่วยคุณได้ไม่มากก็น้อย ในวันนี้ที่สังคมเต็มไปด้วยอารมณ์ ทั้งเศร้าเสียใจ ความโกรธ จนทำให้ทุกอย่างมันลามไปถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน ดิฉันเป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยากเห็นคนทุกคนมอบความรัก ความเมตตาแก่กันมากขึ้นค่ะ มาช่วยกันนะคะ
Share this Post