7 เหตุผล ที่คุณควรหยุดทาน อาหารสำเร็จรูป

7 เหตุผล ที่คุณควรหยุดทาน อาหารสำเร็จรูป

พฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในอดีตผู้คนนิยมจ่ายตลาดเพื่อเลือกซื้อวัตถุดิบและทำอาหารทานเองที่บ้าน แต่ในปัจจุบัน ภาพเหล่านั้นได้หายไปและถูกแทนที่ด้วยภาพวิถีชีวิตที่เร่งรีบและวุ่นวาย ผู้คนมักหาซื้ออาหารแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า และนำมาอุ่นในไมโครเวฟก่อนที่จะรับประทาน จริงๆแล้ววิธีนี้ง่าย สะดวกสบาย และเหมาะกับสภาพสังคมที่แข่งขันกับเวลา
อย่างไรก็ตาม อาหารแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูปไม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ มันยังเต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกายอีกด้วย บทความนี้เปิดเผยเหตุผล 7 ข้อที่คุณควรหยุดรับประทานอาหารเหล่านี้ และเริ่มต้นทำอาหารทานเอง

1) อาหารสำเร็จรูปเต็มไปด้วย “วิตามินและเกลือแร่จอมปลอม”
หากคุณพลิกดูข้างกล่องหรือซองของอาหารสำเร็จรูป คุณจะพบว่ามีฉลากแสดงคุณค่าทางโภชนาการ แต่ความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขของสารอาหารเหล่านี้เป็นตัวเลขปลอมๆที่สร้างขึ้นมา เนื่องจากการปรุงอาหารสำเร็จรูปต้องผ่านกระบวนการต่างๆมากมายซึ่งทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์หายไป ผู้ผลิตจึงใส่วิตามินและเกลือแร่ที่สังเคราะห์ขึ้นมาแทน กล่าวคือ สารอาหารที่เห็นในฉลากไม่ใช่สารอาหารตามธรรมชาติ แต่เป็นสารปรุงแต่งทั้งสิ้นหากเรารับประทานอาหารเหล่านี้จำนวนมาก ก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีมากตามไปด้วย และจะทำให้ระบบย่อยของเรามีปัญหา ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรประกอบอาหารเองที่บ้าน เพราะคุณจะได้รับประทานอาหารที่สด ใหม่ และได้รับสารอาหารตามธรรมชาติจริงๆ

2) อาหารสำเร็จรูปมี “สัดส่วน และปริมาณสารอาหารค่อนข้างน้อย”
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำเร็จรูปเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งวัตถุดิบหลากหลายชนิดจะถูกรวบรวมและเก็บรักษาไว้ด้วยกัน ในแต่ละวันอาหารสำเร็จรูปจะถูกผลิตเป็นจำนวนมหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม อาหารแต่ละชิ้นมีสัดส่วนหรือขนาดค่อนข้างเล็ก และมีปริมาณสารอาหารน้อยมาก ทั้งนี้ คุณอาจรู้สึกดีใจว่าคุณจะได้รับปริมาณสารกันเสีย และสารปรุงแต่งในปริมาณที่น้อยลง แต่ปัญหาก็คือ เมื่อคุณทานอาหารในสัดส่วนที่น้อยกว่าปกติ คุณก็จะรู้สึกหิวเร็วขึ้น และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณกินจุบจิบมากขึ้นซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ

3) อาหารสำเร็จรูปมี “ปริมาณน้ำมันพืชมากเกินไป”
น้ำมันพืชมีมากมายหลายชนิด เช่น น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้าย เป็นต้น คุณรู้หรือไม่ว่าอาหารสำเร็จรูปมีน้ำมันพืชซึ่งมีไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูงมาก สิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณ เพราะน้ำมันพืชเป็นตัวก่อให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ และทำให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการประกอบอาหารในอุตสาหกรรมมักใช้ตัวทำละลายที่เป็นพิษและสารเคมีปริมาณมากแม้ว่าบางครั้งคุณอาจเห็นอาหารสำเร็จรูปที่ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ แต่มันพบเห็นได้ยากมาก เนื่องจากราคาของน้ำมันเหล่านี้ค่อนข้างสูง

4) อาหารสำเร็จรูปมี “สารเคมีมากเกินไป”
บนฉลากของอาหารสำเร็จรูป คุณมักเห็นส่วนผสมหลากหลายชนิดเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา แต่ไม่ช่วยยืดอายุของตัวคุณ สารเคมีที่มักถูกใส่ลงไปในอาหารสำเร็จรูป ได้แก่ สารปรุงรส SucraloseChromium amino acid chelateMono and diglyceridesMaltodextrinDipotassium phosphateGlycerinSodium caseinateเป็นต้น แม้ว่าสารเคมีที่ใช้ในอาหารเหล่านี้จะได้รับการทดสอบและรับรองแล้วว่าปลอดภัย แต่สารอาหารตามธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อร่างกายคุณมากกว่า ดังนั้น หากคุณกำลังจะซื้อคุกกี้ ให้คุณลองเปลี่ยนมาทานผลไม้สดๆแทน

5) อาหารสำเร็จรูปเต็มไปด้วย “น้ำตาล”
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าปริมาณน้ำตาลที่พอเหมาะในแต่ละวันคือประมาณ 25 กรัม (ประมาณ 6 ช้อนชา) อย่างไรก็ตาม อาหารสำเร็จรูปหนึ่งจานประกอบด้วยน้ำตาลสูงถึง 50.7 กรัม และหากคุณบริโภคน้ำตาลจากแหล่งอื่นๆด้วย เช่น กาแฟ น้ำหวาน หรือคุกกี้ ก็แสดงว่าคุณได้รับปริมาณน้ำตาลต่อวันมากเกินไป สิ่งนี้ส่งผลให้คุณเกิดโรคอ้วน มะเร็ง และเบาหวานเพราะฉะนั้น คุณจึงควรเลิกทานอาหารเหล่านี้ และหันไปหาผักผลไม้แทน

6) อาหารสำเร็จรูปมี “เกลือ” มากเกินไป
เหตุผลที่อาหารสำเร็จรูปมีปริมาณเกลือมากเกินไป เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารถูกแช่แข็งและใช้เวลาในการขนส่งอย่างยาวนานและเพื่อไม่ให้อาหารสูญเสียรสชาติ วัตถุดิบเหล่านี้จึงถูกใส่เกลือลงไปอย่างไรก็ตาม วิธีนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัดจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน นิ่วในไต และอาจเชื่อมโยงไปสู่โรคมะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วย

ทั้งนี้ ปริมาณเกลือที่แนะนำในแต่ละวัน คือประมาณ 6 กรัม แต่ผู้ผลิตอาหารมักทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดโดยการใส่ข้อมูลโซเดียมแทนเกลือ แท้จริงแล้ว หากคุณอ่านฉลากอาหารที่แสดงปริมาณโซเดียม ให้คุณคูณ 2.5 เท่าจึงจะได้ปริมาณเกลือจริงๆ เช่น หากฉลากระบุว่าอาหารชนิดหนึ่งมีปริมาณโซเดียม 2.4 กรัม แสดงว่ามันมีปริมาณเกลือ6 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดต่อวันแล้ว

7) อาหารสำเร็จรูป “ผลิตในปริมาณมหาศาล และใช้วัตถุดิบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย”
การผลิตอาหารสำเร็จรูปมักต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมหาศาล ผ่านกระบวนการขนส่งที่ยาวนานต้องจัดเก็บหรือถนอมอาหารโดยการแช่แข็งอีกทั้งยังมีการใส่สีสังเคราะห์ สารเคมี และสารกันบูด ซึ่งแต่ละขั้นตอนผู้ผลิตล้วนต้องการลดต้นทุนการผลิต พวกเขาจึงลดกระบวนการปรุงอาหารโดยใส่เกลือเพื่อเพิ่มรสชาติแทนการใช้วัตถุดิบที่มีราคาแพง และเลือกใช้วัตถุดิบที่ราคาถูกกว่าหรือคุณภาพต่ำกว่าเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด

เรียบเรียง Learning Hub Thailand
(Source: http://www.lifehack.org/324336/7-reasons-why-you-should-stop-eating-ready-meals)

<<Back
Next>>

Share this Post

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.