13 สัญญาณของโรคไบโพล่าร์ที่คุณควรสังเกต

ส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงโรคไบโพล่าร์ พวกเขามักจะคิดถึงอาการขึ้นๆ ลงๆ อย่างรุนแรง แต่ความผิดปกติอาจซับซ้อนยิ่งกว่านั้นและไม่ชัดเจนเสมอไป มีสัญญาณของโรคไบโพล่าร์ที่คุณอาจไม่ทันสังเกต ดังนั้นการให้ความสนใจอาจจะช่วยให้คุณหรือคนที่คุณรักได้รับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

1. พูดเร็ว

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะพูดเร็วและคิดมากหลายเรื่อง พวกเขาจึงมักจะโดดข้ามจากหัวข้อนี้ไปยังอีกหัวข้อหนึ่งอย่างรวดเร็ว ส่วนคนอื่นๆจะมองว่าพวกเขาพูดเร็วและแทบไม่สามารถขัดจังหวะได้เลย

2. มั่นใจเกินเหตุ

คนเหล่านี้อาจแสดงอาการคึกคักหรือเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป พวกเขามักตั้งเป้าไว้สูงและแสดงความคาดหวังว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้

3. ความต้องการในการนอนหลับน้อยลง

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์บางรายมีความต้องการในการนอนหลับลดลง การนอนน้อยเป็นเรื่องปกติสำหรับพวกเขาแถมพวกเขาก็ไม่รู้สึกเหนื่อยในวันถัดไปด้วย แต่ถ้าอยู่ในช่วงขาลงอาการเหนื่อยง่ายก็จะกลายเป็นเรื่องปกติแทน

4. หงุดหงิดง่าย

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอารมณ์ดีหรือซึมเศร้ามากกว่าปกติ พวกเขามักรู้สึกตัวเองมีความใจร้อนมากขึ้น แม้แต่ปัญหาเล็กน้อยก็ทำให้พวกเขารำคาญและหงุดหงิด แถมอารมณ์แปรปรวนแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยนี้ก็ไม่ได้เกิดจากสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์อื่นๆด้วย

5. พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย

ในช่วงอารมณ์สนุกสนานคนเหล่านี้อาจแสดงอาการเจ้าชู้ มีความต้องการทางเพศมากขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์หรือเข้าหายาเสพติดมากขึ้น และใช้จ่ายเงินอย่างขาดสติ

6. ขาดสมาธิ

บ่อยครั้งหลายคนเข้าใจผิดว่าโรคไบโพล่าร์คือโรคสมาธิสั้น พวกเขาจะเสียสมาธิเนื่องจากอารมณ์ที่แปรปรวนไปมา ผลที่ตามมาคือโครงการต่างๆหรืองานไม่เสร็จเพราะขาดประสิทธิภาพในการทำงาน

7. เข้าสังคมมากเกินไป

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักมีแนวโน้มที่จะเป็นพวก “สังคมจัด” โดยชอบจับกลุ่มกันหรือไม่ก็ไม่เคยรู้จักกับคนแปลกหน้าเลย เมื่อเราพิจารณาว่าโรคกลัวการเข้าสังคมเป็นโรคอย่างหนึ่ง ทว่าในทางตรงกันข้ามการเป็นมิตรและเข้ากับคนได้ง่ายก็ถูกพิจารณาว่าเป็นโรคไบโพล่าร์ได้เช่นกัน

8. หุนหันพลันแล่น

โรคไบโพล่าร์อาจทำให้คนเราทำตัววู่วาม ได้แก่การใช้จ่ายเงินมากเกินไป การขโมยของในร้านค้า การขับรถเร็ว และการนอกใจคนรัก สมองของผู้ป่วยโรคนี้จะจัดลำดับความสำคัญได้ต่ำกว่าปกติ

9. อาการใคร่ไม่รู้อิ่ม

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะมีแรงกระตุ้นทางเพศมากกว่าปกติหรือคิดเรื่องเซ็กส์ตลอดเวลาซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติและมีความเสี่ยง

10. อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)

อาจฟังดูแปลกแต่การแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคไบโพล่าร์ได้เช่นกัน แน่นอนว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นสลับกับภาวะซึมเศร้า (Depressive States)  อาการสุดโต่งแบบนี้เรียกว่า Manic Episode แต่ผู้ป่วยไบโพล่าร์หลายคนก็ไม่ได้มีอารมณ์สุดโต่งแบบนี้ ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะแค่รู้สึกค่อนข้างดี (Hypomanic Episode) คล้ายๆกับคนปกติและสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ส่วนมากผู้ที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะประสบกับภาวะทั้ง 2 แบบสลับกันไปคือ บางครั้งจะเป็น Manic Episode และบางครั้งก็จะเป็น Hypomanic Episode

11. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ – ไม่คิดหน้าคิดหลัง

เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน (Manic Episode) เขามักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากจึงทำให้มักจะแสดงกิริยาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาในภายหลัง ทำให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่างๆที่พวกเขาไม่มีทางทำหากอยู่ในภาวะปกติ บ่อยครั้งที่โรคไบโพล่าร์เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงหรือใช้เงินฟุ้มเฟือยอย่างน่ากลัว และอาจมีการแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วยเช่นกัน

12. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะไม่มีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานต่างๆ แต่เมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นงานต่างๆที่ยังค้างคายาวเป็นหางว่าวคือหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไบโพล่าร์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะมีอาการนี้เพราะมีหลายคนที่สามารถเรียนรู้วิธีการจัดการตัวเองและพัฒนาให้เป็นคนขยันในขณะที่กำลังเป็นไบโพล่าร์

13. มีอาการต่างๆของโรคซึมเศร้า

ในช่วงของโรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น

  • ความอยากอาหารลดลง
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ
  • ไม่มีเรี่ยวแรง

แต่โรคไบโพล่าร์และโรคซึมเศร้าไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการเดียวกันได้ ความจริงแล้วถ้าคนที่เป็นไบโพล่าร์ทานแต่ยาต้านเศร้าเพียงอย่างเดียว อาการของพวกเขาอาจจะร้ายแรงขึ้น และอาจทำให้เขาตัดขาดตัวเองออกจากความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากว่าการรับประทานยาทุกชนิดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ลักษณะพฤติกรรมและอาการต่างๆที่ได้ระบุไว้ข้างต้นคือสิ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ แต่อาการต่างๆ เหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้ด้วยเช่นกัน โรคไบโพล่าร์สามารถรักษาได้หากได้รับการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุข


Share this Post

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.