เปลี่ยนนิสัยการนินทาในที่ทำงาน ให้เป็นตัวช่วยในการสร้างความเชื่อใจในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน และกระตุ้นความสัมพันธ์ที่มั่นคงและมีความหมาย
เราคงเคยได้ยินคนนินทาในที่ทำงานกันอยู่แล้ว บางทีเราก็เป็นคนฟังเค้านินทาบ้าง บางทีก็เราเนี่ยแหละที่เป็นคนนินทาเอง ไม่ว่าการนินทาจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม ตามตู้กดน้ำเอย แอบส่งข้อความหรืออีเมลล์มาเมาท์เอย
การนินทานั้น ถูกมองออกไปในหลาย ๆ แง่ บางคนก็บอกว่า การนินทาเนี่ย มันคือยาพิษ ซึ่งเราค่อนข้างเห็นด้วย แต่ก็มีคนอื่นเช่นกันที่สนับสนุนการนินทา เช่น Jim Whitehurst ประธานบริษัท Red Hat
แต่ที่ออฟฟิศของเรานั้น คำนิยามของการนินทานั้นค่อนข้างชัดเจนว่า เป็นรูปแบบหนึ่งในการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย เป็นการคุยกับบางคนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองจนต้องมาบ่นให้เราฟัง สรุปก็คือ การนินทาเมาท์มอย เปรียบเสมือนการก่อมลพิษให้กับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานนั่นเอง
แต่ส่วนตัวแล้ว เราเชื่อว่า เราสามารถเปลี่ยนจุดประสงค์ในการนินทาของเรา ให้กลายเป็นการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างได้ และนี่คือ 5 วิธีหลักทั่ว ๆ ไป ที่สามารถพลิกการเมาท์มอยในที่ทำงาน ให้เป็นพฤติกรรมดี ๆ ที่เจ้านายของเราอยากให้เราทำตามเป็นแบบอย่าง
1. เรียนรู้กลวิธีในการ “เปลี่ยน”
เรารู้สึกสนุกเมื่อได้นินทา เนื่องจากว่ามันช่างเมามันส์เสียเหลือเกิน แถมยังต้องเก็บเป็นความลับอีกด้วย การนินทาทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เรานินทาก็จะถูกส่งต่อไปอยู่ดี ทำไมเราไม่ลองทำแบบนี้ดูล่ะ? นำความสนุกเหล่านั้นในการนินทา มาปรับใช้เพื่อพัฒนาการสื่อสารในหัวข้อสำคัญต่าง ๆ ในที่ทำงาน
ลองจินตนาการดูสิว่า หากนำความตื่นเต้นแบบเดียวกันนี้มาใช้ในการกระจายข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มันจะถูกแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว มีข้อมูลใหม่ ๆ มาอัปเดตเกี่ยวกับโปรเจคต์ที่กำลังทำหรอ? นี่แหละเป็นโอกาสดีที่จะได้ลองใช้กลยุทธ์นี้ นำไฟในการนินทา มาประยุกต์ใช้กับการทำงานนั่นเอง
หัวใจหลักสำคัญคือ สื่อสารในประเด็นสำคัญยังไงก็ได้ให้ออกมาน่าตื่นเต้น ซึ่งจะนำพาไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ หากคุณสามารถประยุกต์ใช้ไฟที่มีในการนินทา มาใช้กับการพูดคุยในประเด็นเรื่องอื่น ๆ ความสามารถในการสื่อสารของคุณจะพัฒนาขึ้น รวมถึงสามารถพัฒนาศักยภาพของเพื่อนร่วมงานทั้งทีมอีกด้วย
2. ความซื่อสัตย์ต้องมาก่อน
เราเป็นคนที่สนับสนุนให้มีความซื่อสัตย์ในที่ทำงาน นั่นคือเหตุผลที่เราพยายามที่จะค่อนข้างเปิดเผยเรื่องของชีวิตเราให้กับคนรอบข้าง อีกทั้งเรายังสนับสนุนให้พวกเขาเล่าปัญหาในชีวิตให้เราฟังด้วย แต่ในอีกแง่หนึ่ง การนินทานั้น ก็เป็นการพูดในแง่ลบเกี่ยวกับประเด็นในชีวิตส่วนตัวและที่ทำงาน โดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะช่วยแก้ไขปัญหาใด ๆ เลย
ในวงเมาท์มอยนั้น แต่ละคนควรในวงควรนำการสนทนาแบบเดียวกันมาใช้พัฒนาการสื่อสารเวลาเกิดปัญหาในการทำงานและจัดการสิ่งต่าง ๆ เพราะที่ทำงานนั้นไม่ใช่ที่ที่จะมานั่งปรับทุกข์กันหรอกนะ
แทนที่จะบ่นเกี่ยวกับเรื่องราวของคนอื่นเค้า (แบบที่พวกขี้นินทาชอบทำกัน) ลองหาใครสักคนที่มีสามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นมีปัญหาอะไรกันแน่ โดยเล่าให้ฟังแบบตัวต่อตัว เล่าอย่างเป็นกลางและให้ความเคารพกับบุคคลนั้น ๆ จากนั้น หากเขาตระหนักถึงปัญหานี้เช่นเดียวกัน เราก็ควรไปแจ้งปัญหานี้กับฝ่ายแผนกบุคคล (HR) และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ HR ต่อไป
และอย่าลืมที่จะตัดสินใจให้ดีก่อนที่จะแจ้งกับทาง HR เพราะมันขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ว่าแต่มันจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง ๆ หรอ? ถ้าหากคุณตั้งใจที่จะรับมือกับปัญหานี้อย่างโปร่งใสและซื่อสัตย์ แน่นอนว่าคำตอบคือ ใช่
3. คุยงานกับลูกค้า ให้เหมือนนินทากับเพื่อนร่วมงาม
อีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้คนต่างสนุกไปกับการนินทา เนื่องจากสำหรับคนที่เพิ่งทำงานใหม่นั้น การได้เข้าร่วมวงสนทนาแบบนี้ สามารถเสริมสร้างความสนิทสนมในหมู่เพื่อนร่วมงานได้ ไป ๆ มา ๆ การนินทานั้นก็กลายมาช่วยสร้างความเชื่อใจและความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้กับลูกค้าได้เช่นกัน เดี๋ยวก่อน! เราไม่ได้แนะนำให้ไปนินทากับลูกค้านะ แต่เป็นการให้ข้อมูลกับลูกค้าอย่างเหมาะสม คือให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองสำคัญ มีคุณค่า และให้ข้อมูลสำคัญของบริษัทที่ไม่ค่อยมีคนอื่นรู้มากนัก ซึ่งที่จริงแล้ว แผนกขายก็ใช้วิธีนี้เองในสร้างกำไร การพูดคุยกับลูกค้าอย่างสนิทสนมไม่ใช่การนินทา แต่แท้จริงแล้วเป็นการพัฒนา เพราะมันสามารถพัฒนาความสัมพันธ์และยอดขายของบริษัทได้
4. มองโลกในแง่บวก
อีกวิธีหนึ่งในการนำหลักการนินทามาใช้ในที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพ นั่นคือเปลี่ยนต้นตอของการนินทา การนินทาเป็นสิ่งไม่ดี เนื่องจากมันมีต้นตอมาจากความคิดในแง่ลบ แต่การกระจายข่าวดี ๆ และความสำเร็จที่น่ายกย่องนี่สิ เป็นต้นกำเนิดที่ดีกว่า ซึ่งเริ่มต้นไม่ยากเลย เพียงแค่ให้ความใส่ใจกับความสำเร็จต่าง ๆ และแจ้งให้กับทุกคนบริษัทได้ทราบ
การกระจายข่าวสารด้านบวกแบบนี้ อาจจะไม่ได้ความสนุกโดยตรงเหมือนการนินทา แต่เปลี่ยนเป็นความสนุกในการเฉลิมฉองแทน ซึ่งอาจทำให้ความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนร่วมงานของคุณก้าวไปอีกขึ้นได้
5. กลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสื่อสาร
โดยสรุปแล้ว หลักการในการสื่อสารภายในบริษัท มีดังนี้
- พูดความจริง ไม่เสแสร้ง ชัดเจน และหากต้องการอะไรให้บอกตรง ๆ
- สื่อสารในรูปแบบที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้
- บอกเล่าถึงปัญหา ให้กับคนที่สามารถรับฟังและช่วยแก้ไขปัญหาได้จริง ๆ
- ใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 เช่น “ผม, ดิฉัน” แทนสรรพนาม “พวกเรา” กับลูกค้า – พูดคุยกับลูกค้าในนามของเราเอง ไม่ใช่ของบริษัท เพื่อสร้างความสนิทสนม
และหลักการทั้งหมดนี้ จะทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ในที่ทำงานที่เป็นไปอย่างโปร่งใส มีประโยชน์ และเปี่ยมไปด้วยพลัง และหากคุณทำหน้าที่การงานของคุณให้ดีที่สุดแล้ว เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า คุณจะพบวิธีอีกมากมายที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานในระยะยาว ที่ดีกว่าการนินทาอย่างแน่นอน


หนังสือ “ปล่อยไป แล้วใช้ชีวิตต่อ” .. วางแผงแล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ.. ร้านซีเอ็ด ร้านบีทูเอส ร้านนายอินทร์และร้านคิโนะคุนิยะ สามารถหาซื้อได้แล้วที่สาขาใกล้บ้านคุณ หรือสั่งซื้อกับทางเราได้ง่ายๆ ที่นี่
ปกติหนังสือจงเห็นแก่ตัวและปล่อยไปแล้วใช้ชีวิตต่อ มีขายทุกร้านหนังสือค่ะ
แต่เพื่อความสะดวกลองเช็คลิงค์นี้ของร้าน Se-ed นะคะ เพื่อดูว่าสาขาไหนใกล้คุณมี
ส่วนนายอินทร์ เช็คตามลิงค์นี้ค่ะ นอกจากนี้ ร้านคิโน๊ะคูนิยะ และบีทูเอส มีหนังสือจำนวนมากรอคุณหยิบกลับบ้านค่ะ
- Authors : Aviva Leebow Wolmer
- Source : entrepreneur
- Picture : sf.mariefranceasia
Share this Post